Saturday, 30 May 2020 09:20

การรังวัดแบบสถิต (Static Survey)

 

การรังวัดแบบสถิต (Static Survey)

           การรังวัดแบบสถิต คือ วิธีการวัดระยะโดยใช้คลื่นส่ง เป็นการทำงานโดยใช้เครื่องรับตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยสถานีหลัก (Base Station) จะตั้งอยู่ ณ จุดที่ทราบตำแหน่งค่าพิกัด ส่วนสถานีเคลื่อนที่ (Rover Station) ตั้งไว้ ณ จุดที่ต้องการหาตำแหน่งค่าพิกัดเพิ่มเติม โดยวิธีนี้เครื่องรับสัญญาณทั้งสองสถานีจะต้องรับข้อมูลจากดาวเทียมกลุ่มเดียวกันและช่วงเวลาเดียวกันอย่างน้อย 4 ดวง ปกติเครื่องจะถูกวางตั้งไว้รับสัญญาณไม่น้อยกว่า 30 นาที ทั้งนี้เพื่อให้มีข้อมูลของการวัดระยะที่เพียงพอจะประมวลผลหาจำนวนคลื่นเต็มรอบที่ไม่สามารถวัดได้ โดยหลักการแล้ววิธีการนี้ใช้หาตำแหน่งสัมพัทธ์ระหว่างจุดสองจุดที่อยู่ห่างกันเป็นระยะทางยาว ระยะทางสูงสุดที่ให้ความถูกต้องได้ตามข้อกำหนดของเครื่องรับสัญญาณจะอยู่ที่ประมาณ 20-30 กิโลเมตร

           ระยะเวลาในการรังวัดแบบ Static สำหรับเครื่อง Single Frequency จะต้องรับสัญญาณดาวเทียมไม่น้อยกว่า 5 ดวง มีมุมรับสัญญาณไม่น้อยกว่า 15 องศาและ PDOP น้อยกว่า 7

  • Hi-Target รุ่น V100, รุ่น V30 Plus, รุ่น V90 Plus และ iRTK5 มาพร้อมกับฟังก์ชันการทำงานโหมด Static Survey
  • สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีค่าแม่นยำสูง ใช้งานง่าย
  • สามารถใช้งานร่วมกับโครงข่าย RTK หรือ Network RTK ของกรมที่ดินได้
  • สามารถกันฝุ่นและน้ำตามมาตรฐาน IP67
  • ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องควบคุม รุ่น iHand30

สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ https://www.universalcorp.co.th/contact

อ้างอิง

เฉลิมชนม์  สถิระพจน์. แนวโน้มและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้าน GNSS ในปัจจุบัน (Recent Trends and Applications in GNSS Technology) ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2546.

ร.ท.วัลลพ ตาเขียว เอกสารประกอบวิชาการ การสำรวจด้วยดาวเทียม (Satellite Surveying) กรมแผนที่ทหาร. 2560.

Read 6415 times Last modified on Saturday, 30 May 2020 09:25