ข่าวสาร/กิจกรรม

ข่าวสาร/กิจกรรม (17)

989

ที่มา : https://www.ocean-yachting.com/gps-error-sources

ความคลาดเคลื่อนสามารถเกิดขึ้นได้ในงานรังวัดเสมอ ไม่ว่าจะเป็นความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากอุปกรณ์หรือสภาพแวดล้อมในขณะทำงาน หากเราสามารถหลีกเลี่ยงค่าความคลาดเคลื่อนเหล่านี้ให้เกิดน้อยลงก็ส่งผลดีต่องานรังวัดด้วยดาวเทียมระบบ GPS

ความคลาดเคลื่อนที่ส่งผลต่องานรังวัดด้วยดาวเทียมระบบ GPS มีดังต่อไปนี้

  1. ความคลาดเคลื่อนของวงโคจรดาวเทียม (Ephemeris Error) วงโคจรดาวเทียมที่ผู้ใช้รับมานั้น เป็นวงโคจรที่ได้จากการคำนวณล่วงหน้า ดังนั้น ตำแหน่งดาวเทียม (อิฟิเมอริสดาวเทียม) จึงเป็นค่าจากการคำนวณล่วงหน้า โดยอาศัยรูปจำลองของแรงภายนอกต่างๆ ที่กระทำต่อดาวเทียม เช่น แรงดึงดูดจากดวงจันทร์ แรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์ ลมสุริยะ ซึ่งส่งผลต่อตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียม รูปจำลองที่ใช้อาจไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นตำแหน่งของดาวเทียมที่ได้จากอิฟิเมอริสดาวเทียม ที่ส่งกระจายลงมาพร้อมสัญญาณดาวเทียมนั้นจึงไม่ถูกต้อง ดังนั้นส่วนควบคุมจึงจำเป็นต้องปรับแก้ให้เที่ยงตรงอยู่เสมอ
  2. ความคลาดเคลื่อนของนาฬิกาบนดาวเทียม (GPS Clock Error) เวลา GPS คือ เวลาที่ใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงในระบบ GPS โดยมีสถานีควบคุมหลักเป็นผู้ดูแลรักษาเวลา GPS ให้มีความถูกต้อง โดยปกติเวลา GPS และเวลามาตรฐานสากล (UTC) จะถูกรักษาให้ต่างกันไม่เกิน 100 ns (10-7 วินาที) แต่ถึงแม้ว่านาฬิกาอะตอมที่เป็นตัวกำหนดเวลาบนดาวเทียมจะมีความถูกต้องสูง แต่ก็ยังคงมีความผิดพลาดอยู่ (ประมาณ 3 nanosecond) ส่งผลให้คลื่นที่ส่งมาผิดพลาดด้วย นอกจากความคลาดเคลื่อนในส่วนของการเทียบเวลาแล้ว ยังมีความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากความไม่เสถียรของมาตรฐานความถี่ของนาฬิกาบนดาวเทียมที่เรียกว่า ดริฟท์ (Drift)
  3. ความคลาดเคลื่อนของการหักเหในชั้นบรรยากาศ (Atmospheric Errors) ชั้นบรรยากาศที่มีผลต่อการหักเหของคลื่นวิทยุหรือทําให้เส้นทางเคลื่อนที่เบี่ยงเบนไป คือ ชั้นไอโอโนสเฟียร์และชั้นโทรโพสเฟียร์
  4. ความคลาดเคลื่อนเนื่องจากเกิดคลื่นสะท้อน (Multipath Errors) คลื่นสะท้อนเกิดจากคลื่นสัญญาณ GPS เดินทางไปกระทบวัตถุเกิดการสะท้อนของคลื่นก่อนเข้าสู่เครื่องรับสัญญาณ วัตถุสะท้อนคลื่น เช่น ผิวน้ำผนังคอนกรีต ส่งผลกับรหัสและคลื่นส่ง
  5. ความคลาดเคลื่อนเนื่องจากนาฬิกาของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (Receiver Clock Errors) เครื่องรับสัญญาณไม่จำเป็นต้องมีนาฬิกาที่มีความถูกต้องสูงมาก ทั้งนี้เพราะเวลาที่ถูกต้องสามารถหาได้จากสัญญาณดาวเทียมที่เป็นข้อมูลเวลา ซึ่งเครื่องรับสามารถถอดรหัสได้ก็จะรู้เวลา GPS
  6. การเกิดคลื่นหลุด (Cycle Slip) คลื่นหลุด คือ การขาดหายไปเป็นช่วงๆ ของคลื่น ทำให้เครื่องรับไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องมีสาเหตุหลายประการ คือ มีสิ่งกีดขวางการเดินทางของสัญญาณดาวเทียม เช่น ต้นไม้ อาคาร, Noise ของสัญญาณขนาดใหญ่ เช่น สัญญาณถูกรบกวนจากคลื่นวิทยุ, การเกิดคลื่นสะท้อน
  7. ความคลาดเคลื่อนของเครื่องรับ (Receiver Error) ความคลาดเคลื่อนของเครื่องรับ (Noise) มีสาเหตุการเกิดหลายอย่างเช่น ความไม่เสถียรของออสซิลเลเตอร์ จุดศูนย์กลางเฟสของเสาอากาศ การ BIAS ระหว่างช่องรับสัญญาณ Noise ในการรังวัดขึ้นอยู่กับความเร็วของสัญญาณที่ได้รับ โดยคำนวณได้จากกฎหัวแม่มือ นำมาใช้ในการหาขนาดของ Noise กล่าวคือ 1%ของค่าความยาวคลื่นของสัญญาณที่กำลังรังวัด
  8. ความผิดพลาดในการวัดความสูงของเสาอากาศ (Measurement Error) เป็นความผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดที่เกิดจากผู้ปฏิบัติการรังวัดความสูงเสาอากาศในสนามมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสัญญาณดาวเทียมที่รังวัดได้จะถูกบันทึกและคำนวณบนเสาอากาศ ดังนั้น ค่าความสูงของเสาอากาศที่วัดได้จะใช้เป็นค่าในการทอนค่าความสูงของเสาอากาศลงสู่หัวหมุดหลักฐาน การวัดค่าความสูงของเสาอากาศจะมีผลกระทบโดยตรงต่อความสูงของหมุดหลักฐาน ดังนั้นผู้ปฏิบัติควรระลึกถึงและระมัดระวังให้มากที่สุด
  9. ความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการวางตัวของดาวเทียม (Dilution of Precision: DOP) การหาค่าพิกัดของตำแหน่งของวัตถุ นอกจากต้องรับสัญญาณดาวเทียมให้ได้อย่างน้อย 4 ดวงการวางตำแหน่งของดาวเทียมบนท้องฟ้าก็เป็นส่วนสำคัญ ค่า DOP เป็นค่าที่ได้จากกระบวนการทางคณิตศาสตร์ซึ่งบ่งบอกความไม่แน่นอนด้านตำแหน่ง ค่า DOP ที่สูงให้ค่าความไม่แน่นอนของตำแหน่งมากกว่า ค่า DOP ที่ต่ำ

 

สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด

☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9

📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

https://www.universalcorp.co.th/

#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4#เครื่องมือสำรวจ#GPS

 

อ้างอิง

วิชัย เยี่ยงวีรชน. การสํารวจรังวัดทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2552

[Online]. Available: http://osm.ldd.go.th/web_forest/pdf_file/gps1.pdf [2022, Aug. 19]

[Online]. Available: http://gps.rid.go.th/engineer/unitschool/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%

B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%882.pdf [2022, Aug. 19]

[Online]. Available: https://www.ocean-yachting.com/gps-error-sources [2022, Aug. 19]

ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System) เป็นระบบพิกัดที่ใช้บอกค่าตําแหน่งต่างๆบนพื้นโลก โดยวิธีการอ้างอิงตําแหน่งเป็นค่าระยะเชิงมุมแบบละติจูด (Latitude) และลองติจูด (Longitude) ตามค่าระยะเชิงมุมที่ห่างจากศูนย์กําเนิด (Origin) ของละติจูดและลองติจูดที่กําหนดขึ้นสําหรับศูนย์จุดกําเนิดของละติจูด (Origin of Latitude) นั้นเกิดขึ้นจากแนวระดับที่ตัดผ่านศูนย์กลางของโลกและตั้งฉากกับแกนหมุน เราเรียกแนวระนาบศูนย์กําเนิดนั้นว่า เส้นศูนย์สูตร (Equator) ซึ่งจะทำการแบ่งโลกออกเป็น 2 ซีกคือ ซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ โดยค่าระยเชิงมุมของละติจูด จะเป็นค่าเชิงมุมที่เกิดจากมุมที่ศูนย์กลางของโลก กับแนวระดับฐาน กําเนิดมุมที่เส้นศูนย์สูตร ที่วัดค่าของมุมออกไปทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ค่าของมุมจะสิ้นสุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มีค่าเชิงมุม 90 องศาพอดี

Picture1

ที่มา : https://www.plux.co.uk/converting-radians-in-degrees-latitude-and-longitude/

ดังนั้นการใช้ค่าระยะเชิงมุมของละติจูดอ้างอิง เพื่อบอกตําแหน่งต่างๆ การกําหนดเรียกค่าวัดระบบพิกัดภูมิศาสตร์จะถูกเรียกเป็นหน่วย องศา ลิปดา และฟิลิปดา และจะบอกซีกโลกเหนือหรือซีกโลกใต้กํากับไว้เสมอ เช่น ละติจูดที่ 40 องศา 10 ลิปดา 15 ฟิลิปดาเหนือ ส่วนศูนย์จุดกําหนดของลองติจูด (Origin of Longitude) นั้นจะถูกกําหนดขึ้นจากแนวระนาบทางตั้งที่ผ่านแกนหมุนของโลกตรงบริเวณตําแหน่งบนพื้นโลกที่ผ่านหอดูดาวเมืองกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ เรียกศูนย์กําเนิดนี้ว่า เส้นเมอริเดียนเริ่มแรก (Prime Meridian) เป็นเส้นที่แบ่งโลกออกเป็นซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก ค่าระยะเชิงมุมของลองติจูดเป็นค่าที่วัดมุมออกไปทางตะวันตกและตะวันออกของเส้นเมอริเดียนเริ่มแรก วัดจากศูนย์กลางของโลกตามแนวระนาบที่มีเส้นเมอริเดียนเริ่มแรกเป็นฐานกําเนิดมุมค่าของมุมจะสิ้นสุดที่เส้นเมอริเดียน ตรงข้ามเส้นเมอริเดียนเริ่มแรกมีค่าของมุมซีกโลกละ 180 องศา การใช้ค่าอ้างอิงบอกตําแหน่งก็เรียกกําหนดเช่นเดียวกับ ละติจูด แต่ต่างกันที่จะต้องบอกเป็นซีกโลกตะวันตก หรือตะวันออกแทน เช่น ลองติจูด ที่ 90 องศา 00 ลิปดา 00 ฟิลิปดาตะวันตก

Picture2

ที่มา : https://blogs.lincoln.ac.nz/gis/2021/08/20/whats-so-primo-about-the-prime-meridian/

 

สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด

☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9

📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

https://www.universalcorp.co.th/

#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4#เครื่องมือสำรวจ#GPS

 

อ้างอิง

[Online]. Available: https://old.elearning.yru.ac.th/pluginfile.php/43260/mod_resource/content/2/%E0%B8%9E%E0%

B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94.pdf [2022, July. 25]

[Online]. https://blogs.lincoln.ac.nz/gis/2021/08/20/whats-so-primo-about-the-prime-meridian/[2022, July. 25]

[Online]. https://gisgeography.com/decimal-degrees-dd-minutes-seconds-dms/[2022, July. 25]

 

RTK และ RTK GNSS Network ต่างกันอย่างไร

Picture1

Real Time Kinematic Survey หรือที่เราคุ้นชินกับชื่อที่เรียกกันว่า RTK ซึ่งหลักการทำงานนั้น คือ ต้องใช้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมอย่างน้อย 2 เครื่อง โดยเครื่องที่หนึ่งจะถูกวางไว้บนตำแหน่งหมุดหลักฐานที่ทราบค่าพิกัดหรือสถานีหลัก (Base) ส่วนเครื่องรับเครื่องที่สองถูกนำไปวางรับสัญญาณตามจุดที่ต้องการทราบค่าพิกัด (Rover) โดยทั้งสองเครื่องจะสื่อสารกันระหว่างเครื่องรับทั้งสอง ด้วยวิธีเครื่องรับและส่งคลื่นวิทยุหรือการใช้โทรศัพท์มือถือและอาศัยสัญญาณอินเทอร์เน็ต  ทำให้ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม Rover สามารถทราบค่าตำแหน่งที่ถูกต้องหน้างานได้ในทันที โดยไม่ต้องผ่านการประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์ภายหลัง  โดยตัวเครื่อง Base และเครื่อง Rover ต้องรับข้อมูลจากดาวเทียมกลุ่มเดียวกันและช่วงเวลาเดียวกันอย่างน้อย 5 ดวง               (รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่หน้าเว็บข่าวสารและกิจกรรมของบริษัท UniversalCorp https://www.universalcorp.co.th/blog )

Picture2

RTK GNSS Network หรือที่เรารู้จักกันในอีกชื่อคือ ระบบโครงข่าย CORS (Continuously Operating Reference Stations) สถานีรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ถาวรแบบต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยสถานีรับสัญญาณดาวเทียม GNSS จะส่งสัญญาณค่าปรับแก้ไปในรูปแบบโครงข่าย ทำให้ได้ค่าประมวลผลเชิงตำแหน่งที่มีความถูกต้องแม่นยำสูงในเวลาอันรวดเร็ว วิธีการนี้สามารถให้ค่าความถูกต้องในระดับ 1 -5 เซนติเมตร (สำหรับเส้นฐานที่ยาวไม่เกิน 15 กิโลเมตร) มีหลักในการทำงานคล้ายคลึงกับวิธีการรังวัดแบบ RTK แต่แตกต่างกันที่ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องขอรหัสผู้ใช้ (User Name) จากผู้ให้บริการระบบเครือข่ายสถานีฐานจีพีเอส (ซึ่งในตอนนี้หน่วยงานที่เปิดให้บริการในประเทศไทยมีอยู่หลายหน่วยงาน) โดยที่ผู้ใช้งานใช้เครื่องรับสัญญาณเพียงเครื่องเดียวไปวางตามจุดที่ต้องการทราบค่าพิกัดภายในพื้นที่ระบบเครือข่ายสถานีฐานฯ (รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่หน้าเว็บข่าวสารและกิจกรรมของบริษัท UniversalCorp https://www.universalcorp.co.th/blog )    

 

สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด

☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9

📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

https://www.universalcorp.co.th/

#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4

 

อ้างอิง

กองเทคโนโลยีทำแผนที่. คู่มือการรังวัดโดยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network). กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย.2565

[Online]. Available: https://www.hii.or.th/งานวิจัย/งานวิจัยและพัฒนา/ระบบโครงข่ายขการรังวัด [2022, Feb. 09]

ร.ท.วัลลพ ตาเขียว เอกสารประกอบวิชาการ การสำรวจด้วยดาวเทียม (Satellite Surveying) กรมแผนที่ทหาร. 2560.

การแปลงพื้นหลักฐานระหว่าง WGS 84 และ Indian 1975

( Datum Transformation between WGS 84 and Indian 1975 )

 

959

ที่มา : https://gisgeography.com/wgs84-world-geodetic-system/

กรมแผนที่ทหารได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการสำรวจโครงข่ายหมุดหลักฐานทางราบจากวิธีการสำรวจด้วยกล้องมาเป็นการสำรวจด้วยดาวเทียม GPS ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 ซึ่งมีจุดกำเนิดอยู่ที่เขาสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี โดยประเทศไทยยังใช้พื้นหลักฐานทางราบเป็นพื้นหลักฐาน Indian 1975 เป็นตัวอ้างอิง และรูปทรงรี คือ Everest ในขณะที่การสำรวจด้วยดาวเทียม GPS กับพื้นหลักฐาน WGS 84 มีค่าจุดอ้างอิงและรูปทรงรีที่แตกต่างกัน ทำให้ค่าพิกัดหมุดเดียวกันมีค่าแตกต่างกัน จึงทำให้จำเป็นต้องมีการเป็นค่าพิกัดจากพื้นหลักฐาน WGS 84 มาเป็นค่าพิกัดบนพื้นหลักฐาน Indian 1975 จากการสำรวจด้วยดาวเทียม GPS

ซึ่งการแปลงค่าพื้นหลักฐานจาก Indian 1975 มาเป็น WGS 84 ได้รับความช่วยเหลือจาก Defense Mapping Agency (DMA) แห่งสหรัฐอเมริกา จากการใช้ข้อมูลของการรังวัดสถานี Doppler ของระบบดาวเทียม Transit ได้ค่าความสัมพันธ์ คือ

1

ซึ่งค่าความสัมพันธ์ดังกล่าวยังถือว่ามีค่าความละเอียดถูกต้องยังไม่สูงมากเนื่องจากหมุดควบคุมในงานขยายโครงข่ายมีจุดกำเนิดแค่จุดเดียวที่เขาสะแกกรัง หลังจากกรมแผนที่ทหารได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรทางด้านยีออเดซี่จากหลายหน่วยงานต่างประเทศ โดยเฉพาะการสำรวจโครงข่ายหมุดหลักฐานชั้น Zero Order หรือ Class AA ตามมาตรฐาน FGCC (Federal Geodetic Control Committee) แห่งสหรัฐอเมริกาที่มีการรังวัดค่าแบบสัมบูรณ์ที่มีความละเอียดถูกต้องสูง ทำให้ได้หมุดหลักฐานจำนวน 7 หมุด จนในปี พ.ศ. 2545 กรมแผนที่ทหารได้รวบรวมข้อมูลการรังวัด GPS ทั้งหมด เพื่อนำมาปรับแก้โครงข่ายหมุดหลักฐานทางราบพร้อมกันจนได้โครงข่ายที่มีความถูกต้องน่าเชื่อถือสูง และกระจายตัวอย่างดีโดยการแปลงค่าพิกัดแบบ Geodetic Coordinates มาเป็นค่าพิกัดฉาก 3 มิติ (X,Y,Z) โดยค่าตัวแปรข้อมูลคือค่าพิกัดของหมุดหลักฐานที่ทราบค่าบนพื้นหลักฐานจำนวน 16 หมุด และได้มีการนำค่าความสูงเหนือทรงรี (Ellipsoid Height : h) เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ค่า h (สูตรการหาค่า h สามารถอ่านได้เพิ่มเติมที่เว็บข่าวสารหัวข้อเรื่อง Geoid (จีออยด์) https://www.universalcorp.co.th/all-blogs/item/8-5145 ) บนหมุดหลักฐานทั้ง 16 หมุด ผลการแปลงค่าโดยการคำนวณปรับแก้ระบบ Least Square Adjustment ด้วยซอฟต์แวร์ SKI-PRO ทำให้ได้ค่าความสัมพันธ์ระหว่างสองพื้นหลักฐานในการแปลงค่าพารามิเตอร์พื้นหลักฐาน WGS84 และ Indian 1975 ดังนี้ 2

 

สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด

☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9

📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

https://www.universalcorp.co.th/

#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4

 

อ้างอิง

พ.อ.เอื้อมเกียรติ เจริญสม. รายงานผลการศึกษาวิจัย เรื่องการแปลงพื้นหลักฐานระหว่าง WGS84 และ Indian 1975 (Datum Transformation between WGS84 and Indian 1975). กรมแผนที่ทหาร.2565

 

 

Tilt Survey IMU คืออะไร

สำหรับเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS รุ่นที่มีฟังก์ชั่นการทำงานรังวัดแบบ Tilt Survey จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบหลักๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการตรวจสอบค่าการเอียงตัวของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ได้ดังนี้

  1. ระบบ MEMS

ระบบ MEMS หรือชื่อเต็มๆ คือ Micro Electro Mechanical Systems เป็นระบบเซนเซอร์ที่ช่วยในการตรวจสอบการเอียงตัว เพื่อให้ทราบการเคลื่อนตัวในรูปแบบ 3 แกน คือ Yaw, Roll และ Pitch โดยระบบ MEMS นี้ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องทำการ Calibrate เครื่องด้วยตัวเอง ตามระยะเวลาที่เครื่องกำหนดทุกๆ 30-180 วัน วิธีการ Calibrate  เครื่องมือจะขั้นตอนอยู่ 3 ขั้นตอน คือ การ Calibrate Electronic bubble, การ Calibrate Orientation และการ Calibrate Magnetic แต่ทั้งนี้ระบบ MEMS จะมีข้อจำกัดในเรื่องของการถูกรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโลหะต่างๆ ในกรณีที่มีการทำงานใกล้สภาวะแวดล้อมดังกล่าว อาจทำให้ระบบเซนเซอร์มีค่าความคลาดเคลื่อนแฝงเกิดขึ้นได้

Picture1

ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Inertial_measurement_unit#/media/File:Flight_dynamics_with_text.png

 

  1. ระบบ IMU

ระบบ IMU หรือชื่อเต็มๆ คือ Initial Measurement Unit เป็นระบบเซนเซอร์ที่ทำการตรวจสอบความเร่ง การเอียงในทิศทางต่างๆ ได้อย่างแม่นยำขึ้นกว่าระบบ MEMS และลดข้อจำกัดการรบกวนของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโลหะต่างๆ นอกจากนี้ขั้นตอนในการ Calibrate ยังสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้นกว่าระบบ MEMS และยังทำให้การใช้งานรังวัดตรวจสอบการเอียงหรือการรังวัดแบบ Tile Survey รังวัดได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น

 Picture2

สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด

☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9

📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

https://www.universalcorp.co.th/

#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4

 

อ้างอิง

[Online]. Available: https://issuu.com/iskd/docs/space_geo [2022, Feb. 23]

[Online]. Available: https://th.jf-parede.pt/imu-sensor-working-its-applications [2022, Feb. 23]

[Online]. Available: https://www.slideshare.net/hunchxx/inertial-measurement-unit [2022, Feb. 23]

 

 

 

ระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network)

ระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) คือ ระบบการรับสัญญาณ

ดาวเทียมแบบจลน์ โดยจะทำให้ได้ค่าพิกัด ณ ตำแหน่งที่ทำการรังวัดทันที ในบริเวณพื้นที่โครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ โดยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) จะประกอบไปด้วย สถานีรับสัญญาณดาวเทียมอ้างอิง (CORS), ศูนย์ควบคุม (Control Center), เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ (Rover) และระบบสื่อสาร ทั้งนี้ระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ถือเป็นระบบพื้นฐานด้านการสำรวจและการทำแผนที่ ที่มีการติดตั้งและใช้งานกันอย่างแพร่หลายในหลายๆประเทศทั่วโลก

 

Picture4

หลักการทำงานของระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ประกอบไปด้วย

1) สถานีรับสัญญาณดาวเทียมอ้างอิง (CORS) จะรับสัญญาณและบันทึกข้อมูลดาวเทียมแบบต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมงและส่งข้อมูลดาวเทียมไปยังศูนย์ควบคุม (Control Center)

2) เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ (Rover) ของผู้ใช้งาน ต้องรับสัญญาณดาวเทียมได้ในพื้นที่ตำแหน่งที่ต้องการทราบค่าพิกัด จากนั้นผู้ใช้งานต้องเชื่อมต่อเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ (Rover) ผ่านทางระบบสื่อสาร เพื่อส่งค่าพิกัดไปยังศูนย์ควบคุม (Control Center)

3) ระบบประมวลผลของศูนย์ควบคุม (Control Center) จะทำการสร้างตำแหน่งสถานีอ้างอิงเสมือน (VRS) อยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กับเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ (Rover) ของผู้ใช้งาน

4) การคำนวณค่าพิกัดของผู้ใช้งานจากสถานีอ้างอิงเสมือน (VRS) จะเปรียบเสมือนการรังวัดด้วย

ระบบดาวเทียม GNSS ที่มีค่าระยะเส้นฐานสั้นๆ ผู้ใช้งานจะได้รับค่าพิกัดที่มีค่าความถูกต้องแม่นยำสูงและสะดวกรวดเร็ว

               ในตอนนี้ประเทศไทยได้มีหลายหน่วยงานในการจัดตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมอ้างอิง (CORS) ขึ้นเพื่อให้บริการในพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วย กรมที่ดิน, กรมโยธาธิการและผังเมือง, กรมแผนที่ทหาร และสถาบันสารสรเทศทรัพยากรน้ำ

 2

ที่มา : https://dol-rtknetwork.com/index.php/npage/view/2

สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด

☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9

📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

https://www.universalcorp.co.th/

#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4

 

อ้างอิง

กองเทคโนโลยีทำแผนที่. คู่มือการรังวัดโดยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network). กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย.2565

[Online]. Available: https://www.hii.or.th/งานวิจัย/งานวิจัยและพัฒนา/ระบบโครงข่ายขการรังวัด [2022, Feb. 09]


Picture1

ระบบโครงข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียม CORS

CORS ย่อมาจาก Continuously Operating Reference Stations คือ สถานีรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ถาวรแบบต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยสถานีรับสัญญาณดาวเทียม GNSS จะส่งสัญญาณค่าปรับแก้ไปในรูปแบบโครงข่าย ทำให้ได้ค่าประมวลผลเชิงตำแหน่งที่มีความถูกต้องแม่นยำสูงในเวลาอันรวดเร็ว ค่าข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปใช้ในการอ้างอิงระบุตำแหน่งพิกัด และใช้เป็นสถานีอ้างอิงสำหรับการรังวัดแบบ RTK (Real Time Kinematic) และแบบ Network RTK ในปัจจุบันได้มีการนำไปประยุกต์ใช้งานทั้งด้าน การก่อสร้าง ด้านการสำรวจ ด้านอุตสาหกรรมการเกษตร ด้านงานเหมือง และในด้านการวิจัย

 Picture2

ข้อดีในการใช้งานระบบโครงข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียม CORS

  1. สามารถรับสัญญาณและประมวลผลจากดาวเทียมได้ทุกระบบ
  2. ความถูกต้องแม่นยำสูง(ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 4 เซนติเมตร)
  3. เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมเพียงเครื่องเดียวก็สามารถทำงานได้ ทำให้มีความสะดวก รวดเร็ว และได้ค่าพิกัดในทันที
  4. ช่วยลดต้นทุน ลดระยะเวลาและขั้นตอนในการทำงานลงไปได้มาก

 

ข้อจำกัดในการใช้งานระบบโครงข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียม CORS

  1. ต้องมีรหัสผู้ใช้ของผู้ให้บริการเครือข่าย
  2. เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมต้องสามารถทำงานบนระบบInternet ได้
  3. จำกัดการรับสัญญาณแค่ในพื้นที่ที่ให้บริการเท่านั้น (หมายความว่านอกพื้นที่ให้บริการและพื้นที่ที่ไม่สามารถรับสัญญาณinternet 3G/4G ได้ ก็ไม่สามารถใช้งาน CORS ได้)

 

สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด

☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9

📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

https://www.universalcorp.co.th/

#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4

 

อ้างอิง

กองเทคโนโลยีทำแผนที่. คู่มือการรังวัด โดยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network). กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย.2564

[Online]. Available: https://www.hii.or.th/งานของเรา/2019/10/02/ระบบนำทางด้วยดาวเทียม-gnss-glob/ [2021, Dec. 24]

 

 

Picture1

โดรน (Drone)

               โดรน (Drone) อากาศยานไร้คนขับ หรือที่เรารู้จักอีกชื่อคือ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) แต่เดิมโดรนมักถูกใช้ในทางการทหารโดยใช้เป็นอาวุธหรือเครื่องสอดแนม ในปัจจุบันมาการทำโดรนมาใช้งานในหลายๆด้าน ทั้งในด้านการเกษตร ด้านงานเหมืองแร่ ด้านงานก่อสร้าง ด้านงานวิจัย และด้านงานสำรวจ เนื่องจากโดรนช่วยประหยัดเวลาในการสำรวจ แผนที่และข้อมูลที่ได้ยังอัพเดตเป็นปัจจุบัน มีความคมชัดและความละเอียดสูง

               ทั้งนี้การสำรวจด้วยโดรนในปัจจุบันได้มีการนำโดรนมาประยุกต์ใช้ทำงานร่วมกับเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ทำให้แผนที่ที่ได้มีพิกัดตำแหน่งความถูกต้องสูง และแผนที่ที่ได้ยังมีค่าแนวดิ่งที่ชัดเจนกว่าภาพแผนที่ดาวเทียม

ทางบริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป ได้มีโอกาสนำเครื่องมือ Hi-Target รุ่น V90Plus GNSS ไปทดสอบการเชื่อมต่อเป็นสถานีฐาน (Base Station) ร่วมกับ Phantom 4 RTK พบว่าเครื่อง V90Plus สามารถส่งค่าปรับแก้ผ่านการให้บริการ NTRIP ให้แก่ Phantom 4 RTK ได้เป็นอย่างดี

***เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ของ Hi-Target ทุกรุ่นสามารถใช้ในงานสำรวจร่วมกับโดรน (Drone) ได้หากลูกค้าท่านใดสนใจนำเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ไปใช้ในงานสำรวจรังวัด สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัดได้ค่ะ

Picture2

สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด

☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9

📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

https://www.universalcorp.co.th/

#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4

 

อ้างอิง

[Online]. Available: https://www.kokoyadi.com/drone-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%99/ [2021, Dec. 28]

[Online]. Available: https://www.it24hrs.com/2017/drone-uav-thai-laws/ [2021, Dec. 28]

 

PPK (Post-Processing Kinematic)

การทำวิธี PPK (Post-Processing Kinematic) ต้องใช้ควบคู่กับโดรน โดยโดรนที่ใช้จะต้องเป็นโดรนที่มีตัวรับสัญญาณ (receiver) ค่าพิกัด GNSS แบบ PPK ติดตั้งอยู่กับตัวโดรน ในขณะที่โดรนบินสำรวจก็จะมีการบันทึกข้อมูล GNSS (logs file) เพื่อใช้สำหรับประมวลผลในภายหลังร่วมกับข้อมูล GNSS (logs file) จากสถานีฐาน (Base Station) เช่น CORS Station หรือการตั้งเครื่องรับสัญญาณ GNSS บนหมุดระดับ ณ ตำแหน่งที่ทราบค่า โดยในปัจจุบันนี้ โดรนที่มีตัวรับสัญญาณ receiver รับค่า GNSS มีให้เลือกมากมาย ซึ่งวิธีการจะสะดวกรวดเร็วกว่าการวางเป้าจุด GCP (Ground Control Point) และวิธีการทำ PPK ยังสามารถสำรวจในพื้นที่ที่ไม่สามารถวางเป้า GCP ได้

 01

 

RTK (Real Time Kinematic)

การทำวิธี RTK (Real Time Kinematic) นี้มีความคล้ายคลึงกับวิธีการทำ PPK โดยข้อแตกต่างของการทำวิธี RTK คือตัวโดรนต้องเป็นตัวรับสัญญาณ (receiver) ค่าพิกัด GNSS แบบ RTK และมีการตั้งสถานีฐาน (Base Station) แบบ RTK เข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งการสื่อสารกันระหว่างตัวโดรนและสถานีฐาน (Base Station)  จะสื่อสารกันในรูปแบบสัญญาณวิทยุ โดยตัวโดรนจะได้รับค่าปรับแก้ทางตำแหน่งที่มีค่าความถูกต้องแม่นยำสูงอยู่ตลอดเวลาจากสถานีฐาน (Base Station) ขณะบินสำรวจ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่สะดวกรวดเร็วที่สุดและให้ค่าความถูกต้องทางตำแหน่งสูง แต่วิธีการนี้ยังมีจุดเสี่ยงอยู่ เนื่องจากสัญญาณวิทยุอาจเกิดการถูกรบกวนหรือสัญญาณอาจมีการหลุดหายไปได้ในขณะการบินสำรวจ โดยปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดการหลุดหายไปของสัญญาณ ได้แก่ มีอาคารหรือต้นไม้บดบัง อยู่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูงหรือแหล่งส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กมากเกินไป

 

02

สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด

☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9

📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

https://www.universalcorp.co.th/

#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4

 

อ้างอิง

[Online]. Available: https://www.heliguy.com/blogs/posts/is-rtk-the-future-of-drone-mapping [2021, Dec. 12]

[Online]. Available: https://wingtra.com/ppk-drones-vs-rtk-drones/ [2021, Dec. 12]

[Online]. Available: https://www.ferntechcommercial.co.nz/news/rtk-and-ppk-survey-drones-what-is-the-difference [2021, Dec. 12]

[Online]. Available: https://coptrz.com/ppk-or-rtk-which-is-best/ [2021, Dec. 12]

 

 

 

 

 

ระบบ UNIVERSAL TRANSVERSE MERCATORS : UTM หรือ ระบบพิกัดฉาก ขอบเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดบนโลก ระหว่าง Latitude 84 องศาเหนือ และ Latitude 84 องศาใต้ มีหน่วยในการวัดเป็นเมตร พื้นที่โซนจะแบ่งตามระยะองศา Latitude เรียกว่า Zone การแบ่ง Zone ในระบบ UTM พื้นที่โลกจะถูกแบ่งออกเป็น 60 โซน ตามองศา Longitude ในแต่ละโซนจะมีระยะห่างโซนละ 6 องศา โดยจะมีค่า Latitude เท่ากับ 600,000 เมตร หรือ 600 กิโลเมตร ซึ่งช่วงโซน ที่ 1 จะอยู่ระหว่าง Longitude ที่ 180 องศาตะวันตก ถึง Longitude ที่ 174 องศาตะวันตกและมีเส้นเมอริเดียนกลาง (Central Meridian) คือเส้น Longitude ที่ 177 องศาตะวันตก ค่าความผิดพลาดไปทางทิศตะวันออก (False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร ซึ่งค่า False easting นี้จะเท่ากันทุกโซน โซนที่ 2,3,4,5....,60 จะอยู่ถัดไปทางตะวันออก ห่างกันโซนละ 6 องศา Longitude ซึ่งโซนสุดท้ายคือโซนที่ 60 จะอยู่ระหว่าง Longitude ที่ 174 องศา ตะวันออก ถึง Longitude ที่ 180 องศาตะวันออก ระบบพิกัด UTM เป็น ระบบพิกัดกริด ที่สร้างตามระบบเส้นโครงแผนที่ Mercator ที่เกิดจากการฉาย ภาพเส้นโครงแผนที่ทรงกระบอก ซึ่งแผนที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะใช้เส้นโครงแผนที่แบบนี้ เพราะจะได้ พื้นที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดในบริเวณเส้นศูนย์สูตร

Picture1

ที่มา : http://gis-jopk06.blogspot.com/2011/09/

 

โดยประเทศไทยจะอยู่ที่  Zone 47 และ Zone 48 ซึ่งโซน Zone 47 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 96 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 102 องศา ตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 99 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทางทิศ ตะวันออก (False easting) เท่ากับ 500,000 เมตรและ Zone 48 จะเริ่มต้นที่ Longitude ที่ 102 องศาตะวันออก และสิ้นสุดที่ Longitude ที่ 108 องศา ตะวันออก มีเมอร์ริเดียนกลาง (CM) Longitude ที่ 105 องศาตะวันออก ค่าความผิดพลาดไปทาง ทิศตะวันออก (False easting) เท่ากับ 500,000 เมตร

ซึ่งแบ่งเส้นเขต 47 และเขต 48 จะอยู่ที่พื้นที่เส้นลองจิจูด 102 ลากผ่าน ได้แก่ 9 จังหวัด 30 อำเภอ 87 ตำบล

1. จังหวัดจันทบุรี อำเภอท่าใหม่, อำเภอแหลมสิงห์, อำเภอแก่งหางแมว, อำเภอเขาคิชฌกูฏ
2. จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอนาดี
3. จังหวัดสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว, อำเภอวังน้ำเย็น, อำเภอเขาฉกรรจ์, อำเภอวังสมบูรณ์
4. จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา, อำเภอครบุรี, อำเภอโนนไทย, อำเภอปักธงชัย, อำเภอวังน้ำเขียว, อำเภอพระทองคำ
5. จังหวัดชัยภูมิ อำเภอเมืองชัยภูมิ, อำเภอเกษตรสมบูรณ์, อำเภอภูเขียว, อำเภอคอนสาร, อำเภอเนินสง่า
6. จังหวัดหนองบัวลำภู อำเภอนาวัง
7. จังหวัดขอนแก่น อำเภอชุมแพ
8. จังหวัดเลย อำเภอนาด้วง, อำเภอปากชม, อำเภอภูกระดึง, อำเภอผาขาว, อำเภอเอราวัณ
9. จังหวัดนราธิวาส อำเภอตากใบ, อำเภอสุไหงโก-ลก, อำเภอสุไหงปาดี

สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด

☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9

📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

https://www.universalcorp.co.th/

#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4

 

อ้างอิง

[Online]. Available: http://forestinfo.forest.go.th/55/Manual/ตรวจสอบแนวเขตป่าสงวน2.pdf [2021, Dec. 01]

[Online]. Available: https://www.facebook.com/SocialOnMap/photos/a.1501376693448456/19580855 97777561/?type=3&theater [2021, Dec. 01]

 

Page 1 of 2