RTK และ RTK GNSS Network ต่างกันอย่างไร
Real Time Kinematic Survey หรือที่เราคุ้นชินกับชื่อที่เรียกกันว่า RTK ซึ่งหลักการทำงานนั้น คือ ต้องใช้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมอย่างน้อย 2 เครื่อง โดยเครื่องที่หนึ่งจะถูกวางไว้บนตำแหน่งหมุดหลักฐานที่ทราบค่าพิกัดหรือสถานีหลัก (Base) ส่วนเครื่องรับเครื่องที่สองถูกนำไปวางรับสัญญาณตามจุดที่ต้องการทราบค่าพิกัด (Rover) โดยทั้งสองเครื่องจะสื่อสารกันระหว่างเครื่องรับทั้งสอง ด้วยวิธีเครื่องรับและส่งคลื่นวิทยุหรือการใช้โทรศัพท์มือถือและอาศัยสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทำให้ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม Rover สามารถทราบค่าตำแหน่งที่ถูกต้องหน้างานได้ในทันที โดยไม่ต้องผ่านการประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์ภายหลัง โดยตัวเครื่อง Base และเครื่อง Rover ต้องรับข้อมูลจากดาวเทียมกลุ่มเดียวกันและช่วงเวลาเดียวกันอย่างน้อย 5 ดวง (รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่หน้าเว็บข่าวสารและกิจกรรมของบริษัท UniversalCorp https://www.universalcorp.co.th/blog )
RTK GNSS Network หรือที่เรารู้จักกันในอีกชื่อคือ ระบบโครงข่าย CORS (Continuously Operating Reference Stations) สถานีรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ถาวรแบบต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยสถานีรับสัญญาณดาวเทียม GNSS จะส่งสัญญาณค่าปรับแก้ไปในรูปแบบโครงข่าย ทำให้ได้ค่าประมวลผลเชิงตำแหน่งที่มีความถูกต้องแม่นยำสูงในเวลาอันรวดเร็ว วิธีการนี้สามารถให้ค่าความถูกต้องในระดับ 1 -5 เซนติเมตร (สำหรับเส้นฐานที่ยาวไม่เกิน 15 กิโลเมตร) มีหลักในการทำงานคล้ายคลึงกับวิธีการรังวัดแบบ RTK แต่แตกต่างกันที่ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องขอรหัสผู้ใช้ (User Name) จากผู้ให้บริการระบบเครือข่ายสถานีฐานจีพีเอส (ซึ่งในตอนนี้หน่วยงานที่เปิดให้บริการในประเทศไทยมีอยู่หลายหน่วยงาน) โดยที่ผู้ใช้งานใช้เครื่องรับสัญญาณเพียงเครื่องเดียวไปวางตามจุดที่ต้องการทราบค่าพิกัดภายในพื้นที่ระบบเครือข่ายสถานีฐานฯ (รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่หน้าเว็บข่าวสารและกิจกรรมของบริษัท UniversalCorp https://www.universalcorp.co.th/blog )
สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด
☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9
📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
https://www.universalcorp.co.th/
#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4
อ้างอิง
กองเทคโนโลยีทำแผนที่. คู่มือการรังวัดโดยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network). กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย.2565
[Online]. Available: https://www.hii.or.th/งานวิจัย/งานวิจัยและพัฒนา/ระบบโครงข่ายขการรังวัด [2022, Feb. 09]
ร.ท.วัลลพ ตาเขียว เอกสารประกอบวิชาการ การสำรวจด้วยดาวเทียม (Satellite Surveying) กรมแผนที่ทหาร. 2560.